วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล



สาระสำคัญ


ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น

นับได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคของสารสนเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างเหมาะสม สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้งานด้านธุรกิจ การบริหาร และกิจการอื่น ๆ องค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ๆ จะพบความยุ่งยากลำบากในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ซึ่งทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก ทั้งนี้โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะต้องสร้างวิธีควบคุมและจัดการกับข้อมูลขึ้นเอง ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงการควบคุมและการจัดการความถูกต้องตลอดจนประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย


โครงสร้างของข้อมูล
1. รหัส (Code) คือ สัญลักษณ์ใช้แทนข้อมูล โดยปกติใช้เลขฐานสองเป็นรหัส
2. บิท (Bit : Binary Digit) คือหลักในเลขฐานสอง ได้แก่ 0 และ 1
3. ไบต์ (Byte) คือ กลุ่มของบิทโดยกำหนดให้ 8 บิท = 1 ไบต์
4. อักขระ (Character) คือ รูปแบบ หรือ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนภาษาของมนุษย์ แบ่งได้ ดังนี้
4.1 ตัวอักษร (Font) ได้แก่ A-Z,ก-ฮ เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ได้แก่ 0-9 เป็นต้น
4.3 เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ (Symbol) ได้แก่ @, &, $ เป็นต้น
5. คำ (Word) คือ กลุ่มของอักขระรวมกันเป็นความหมาย
6. เขตข้อมูล (Field) คือ คืออักษรตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์กัน เป็นรายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ,ที่อยู่หรือตำแหน่ง
7. ระเบียน (Record) คือ ชุดของเขตข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์
8. แฟ้มข้อมูล คือ ระเบียน ตั้งแต่ 1 ระเบียนขึ้นไป มีโครงสร้างของข้อมูลเหมือนกันและสัมพันธ์กัน มาเก็บไว้ในที่เดียวกัน สามารถนำไปใช้งานได้ เช่น แฟ้มข้อมูลนักเรียนทั้งหมดในโรงเรียน


นอกจากโครงสร้างของข้อมูลทั้ง 8 โครงสร้างแล้ว ระบบฐานข้อมูลจำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างของข้อมูลเพิ่มอีก 2 ชนิดคือ


เอนทิตี้ (ENTITY) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปรียบเสมือนคำนาม อาจได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้ เช่น เอนทิตี้ของลูกค้า เอนทิตี้ของพนักงาน เป็นต้น บางเอนทิตี้อาจจะไม่มีความหมายเลย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล เช่น เอนทิตี้ประวัตินักสึกษาจะไม่มีความหมาย หากปราศจากเอนทิตี้นักศึกษา เพราะจะไม่ทราบว่าเป็นประวัติของนักศึกษาคนใด


แอททริบิวต์ (ATTRIBUTE) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย แอททริบิวต์รหัสนักศึกษา ชื่อนักเรียนศึกษา ที่อยู่นักศึกษา เป็นต้น


บางเอนทิตี้ก็ยังประกอบด้วยข้อมูลหลายส่วน กลายแอททริบิวต์ย่อยมารวมกัน เช่น แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา ประกอบด้วย บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด ดังนั้น แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษาจึงเป็น แอททริบิวต์ผสม (COMPOSITE ATTRIBUTE)


บางแอททริบิวต์ก็อาจจะไม่มีค่าของตัวมันเอง แต่จะสามารถหาค่าได้จากแอททริบิวต์อื่น เช่น แอททริบิวต์อายุ อาจคำนวณได้จาก แอททริบิวต์วันเกิด ลักษณะเช่นนี้จึงอาจเรียกแอททริบิวต์อายุว่าเป็น แอททริบิวต์ที่แปรผลค่ามา (DERIVED ATTRIBUTE)